ระบบงานต้นทุนการผลิต (PRODUCTION COST SYSTEM)

รายละเอียดสินค้า

projects promo

รายละเอียด แบบย่อ


1. สูตรการผลิต (BOM)

2. ใบสั่งผลิตสินค้า

3. ต้นทุนการผลิตแต่ละ LOT

4. รายงานต้นทุนการผลิตของโรงงาน

5. รายงานต้นทุนขาย

ระบบงานต้นทุนการผลิต (PRODUCTION COST SYSTEM)


             โปรแกรมต้นทุนการผลิต (Business Controller)  สำหรับโรงงานผู้ผลิตสินค้าเป็น LOT เพื่อได้ ต้นทุนสินค้าต่อหน่วย งบต้นทุนการผลิต (MANUFACTURING COST), งบต้นทุนขาย (COST OF GOODS SOLD) เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับโรงงานผู้ผลิตสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่เกิดจากส่วนผสมหรือส่วนประกอบที่ใช้สูตรการผลิต (Bill of  Material)  โปรแกรมจะตัดสต็อกวัตถุดิบ (Raw  Material)  ให้ตามสัดส่วนของสูตรการผลิต  และรับสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods)  ที่ผลิตได้เข้าคลังสินค้าให้โดยอัตโนมัติ  การผลิตจะผลิตเป็น Lot  (หรือหมายเลขใบสั่งผลิต)  ในการเบิกวัตถุดิบระหว่างเดือนจะใช้ราคามาตรฐาน (Standard Cost) ในการคำนวณเพื่อให้ทราบต้นทุนโดยประมาณก่อน  หลังปิดงวดสิ้นเดือนแล้วจึงจะนำราคาวัตถุดิบที่คิดแบบ  Periodic มาคำนวณหาต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ทั้งหมดในเดือนนั้น   แล้วจึงนำจำนวนสินค้าที่ผลิตได้ทั้งหมด  (หรือจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด)ในเดือนนั้นมาหาร   เพื่อให้ได้ต้นทุนวัตถุดิบต่อหน่วยของสินค้าที่ผลิตได้  นอกจากนั้นทางโปรแกรมยังได้กำหนดให้ใส่ต้นทุนค่าแรงทางตรงที่ใช้ในการผลิต  และค่าใช้จ่ายทางอ้อม (Indirect Cost)  ต่างๆ เช่น  ค่าน้ำ  ค่าไฟ  ค่าบริหารส่วนกลาง ฯลฯ  มารวมในการคิดคำนวณต้นทุนสินค้าต่อหน่วยด้วย

        1. ขั้นตอนการวางแผนการผลิต (Planning)
                
เมื่อผู้จัดการโรงงานต้องการผลิตสินค้า  เขาสามารถเรียกดูสต็อกวัตถุดิบว่ามีเพียงพอที่จะผลิตหรือไม่  โดยโปรแกรมจะคำนวณตามสูตรการผลิต(Bill of Material) ที่ได้กำหนดไว้แล้ว  ในกรณีที่วัตถุดิบมีเพียงพอ  ผู้จัดการสามารถจองวัตถุดิบไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะเริ่มทำการผลิตสินค้านั้นได้  เมื่อมีใครเรียกดูสต็อกคงเหลือ ณ.ปัจจุบันของวัตถุดิบ  ก็จะเห็นว่ามียอดคงเหลือที่จะใช้ได้จริงอีกเท่าใด  และถูกจองไปแล้วเท่าใด  ในขั้นตอนนี้โปรแกรมจะพิมพ์ใบสั่งผลิต(Producing Indication) ซึ่งจะมีรายละเอียดของจำนวนวัตถุดิบที่จะต้องใช้ทั้งหมดในการผลิตครั้งนี้  และข้อมูลต่างๆ ที่จะต้องแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ

        2. ขั้นตอนการผลิต (Actual  Production)
              
เมื่อพนักงานผู้ปฏิบัติงานเริ่มผลิตสินค้าตามใบสั่งผลิต  เขาก็จะเบิกวัตถุดิบตามที่ใบสั่งผลิตแจ้งมา  แต่มีบางกรณีที่การเบิกใช้วัตถุดิบไม่เป็นไปตามใบสั่งผลิต  หลังจากผลิตสินค้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว  เขาจะบันทึกข้อมูลในใบสั่งผลิตว่าได้ใช้วัตถุดิบไปจริงเป็นจำนวนเท่าใด  และใช้ Man Hour (จำนวนคน  และจำนวนชั่วโมง) ไปเท่าใดในการผลิตตามใบสั่งผลิตนี้  เพื่อใช้เป็นการคำนวณค่าวัตถุดิบทางตรง(Direct Material) และค่าแรงทางตรง(Direct Labour)  ในขั้นตอนการผลิตจริง  เมื่อมีการระบุจำนวนวัตถุดิบที่เบิกไปใช้จริง  และสินค้าที่ผลิตได้เป็นจำนวนเท่าใด  โปรแกรมก็จะทำการตัดสต็อกวัตถุดิบและเพิ่มสต็อกของสินค้า (Finished Goods) ให้โดยอัตโนมัติ
              ในขั้นตอนนี้ User สามารถพิมพ์รายงานต้นทุนการผลิต (Production  Cost)  เพื่อให้ผู้บริหารดูต้นทุนการผลิตแต่ละใบสั่งผลิต(หรือแต่ละ Lot) ได้ทันที  โดยโปรแกรมจะนำค่าใช้จ่ายทางตรง(Direct Cost)   ซึ่งเป็นค่าวัตถุดิบและค่าแรงที่ใช้จริงรวมกับค่าประมาณการของค่าใช้จ่ายทางอ้อม(Estimated Indirect Cost ) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของเดือนก่อนหน้านี้   (หลังจากฝ่ายบัญชีปิดบัญชีตอนสิ้นเดือนแล้ว  จะมีการคำนวณ Production Cost  ให้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง  เพื่อตัวเลขจะได้ตรงกับฝ่ายบัญชี)

        3. บันทึกข้อมูลค่าใช้จ่ายทางอ้อม (Indirect  Cost)
               
เป็นการนำข้อมูลค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตเพื่อมาใช้ในการคำนวณ Man Hour  และค่าใช้จ่ายทางอ้อมอื่นๆ ในการผลิตสินค้าแต่ละใบสั่งผลิต(หรือแต่ละ Lot)

        4. จัดทำงบต้นทุนการผลิตประจำเดือน
               
หลังจากได้บันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานในแต่ละวัน  และค่าใช้จ่ายทางอ้อมตอนสิ้นเดือนแล้ว  โปรแกรมสามารถออกรายงานเกี่ยวกับการบริหารต้นทุนต่างๆ ได้แก่
                    ♦  บัญชีต้นทุนการผลิตของสินค้าแต่ละชนิด (Cost Account)
                    ♦  ต้นทุนการผลิตของทั้งโรงงาน (Manufacturing Cost)
                    ♦  ต้นทุนของสินค้าที่ได้ขายไป (Cost of Goods Sold)  (ในกรณีที่ทราบข้อมูลการขาย)

        5.  ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control)
                
โปรแกรมระบบดังกล่าวนี้  จะรวมถึงโปรแกรม “ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง” ไว้ด้วย  ซึ่งสามารถใช้ควบคุมสต็อกของทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป และมีความสัมพันธ์ในการคำนวณราคาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วย

        6.  อื่นๆ
               
สามารถต่อยอดความสามารถของโปรแกรมให้เป็นระบบ ERP (Enterprise Resources Planning) อย่างสมบูรณ์ต่อไปในอนาคตได้ (โดยการติดตั้งโปรแกรมระบบอื่นของ Business Controller เพิ่ม)

        รายงานต่างๆ ที่จะได้รับ
               
♦  พิมพ์ใบสั่งผลิต (ก่อนผลิต) เพื่อเตรียมวัตถุดิบ (Producing Indication)
               ♦  พิมพ์ใบสั่งผลิต (หลังผลิตจริงแล้ว)  เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานให้แก่ฝ่ายบัญชี
               ♦  รายงานบัญชีต้นทุน (Cost Account)
               ♦  รายงานการรับวัตถุดิบหรือสินค้าประจำวัน/เดือน  แยกตามสินค้า
               ♦  รายงานการรับวัตถุดิบหรือสินค้าประจำวัน/เดือน  แยกตามผู้รับสินค้า/ผู้ขาย (กรณีใช้ร่วมกับโปรแกรม A/P)
               ♦  รายงานการเบิกวัตถุดิบหรือสินค้าประจำวัน/เดือน  แยกตามสินค้า
               ♦  รายงานการเบิกวัตถุดิบหรือสินค้าประจำวัน/เดือน  แยกตามผู้เบิก/ลูกค้า (กรณีใช้ร่วมกับโปรแกรม A/R)
               ♦  รายงาน “MANUFACTURING  COST &  COST  OF  GOODS  SOLD”

 

  สนใจดูการแนะนำการใช้งานโปรแกรม คลิ้ก https://youtu.be/LWuVpR7hDzE

 

  ติดต่อรับคำปรึกษา
    
02-259-7745-6, 086-312-3065   
     
ID line : @hmithailand (มี @ นำหน้า)

   

        เพิ่มเพื่อน

 

  ตัวอย่างรายงาน