โปรแกรมบริหารสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย(University Academy Administration)

รายละเอียดสินค้า

projects promo

รายละเอียด แบบย่อ


1. ฝ่ายทะเบียน(นักศึกษา, อาจารย์, หลักสูตร)

2. ฝ่ายวัดผลการศึกษา(ลงทะเบียน, ผลสอบ)

3. ฝ่ายการเงิน(รับชำระ, ออกใบเสร็จ)

4. ฝ่ายบัญชี(ลงบัญชีแยกรายรับ-จ่าย ตามกองทุน)

5. ฝ่ายทะเบียนทรัพย์สิน

โปรแกรมบริหารสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย(University Academy Administration)


              เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Business Controller) หรือมหาวิทยาลัยโปรแกรมจะรองรับการทำงานแบบบูรณาการ (Integration System) พนักงานหลายๆ ฝ่ายต่างปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนเอง โดยใช้ฐานข้อมูล (Data Base)ร่วมกัน โปรแกรมที่ใช้งานในระบบมีทั้งแบบ Client Server Application และ Web Application ทำให้การทำงานภายในมหาวิทยาลัยในส่วนที่เป็น LAN (Local Area Network) และการทำงานจากภายนอกผ่านระบบ Internet (Remote Access) สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์จากการใช้งานโปรแกรม จะครอบคลุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เกือบทั้งหมดในสถาบัน ตั้งแต่งานขั้นพื้นฐานที่สุด เช่น การลงทะเบียนของนักศึกษา ไปจนกระทั่งการปิดบัญชีประจำเดือน เช่น การจัดทำกำไรขาดทุน หรืองบดุลของสถาบัน เป็นต้น

    เนื้อหาและขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมประกอบด้วย
         1. งานของฝ่ายทะเบียน
                 ♦ การจัดทำทะเบียนประวัติอาจารย์ผู้สอน
                         บันทึกประวัติของอาจารย์ผู้สอน เช่น ชื่อ ที่อยู่ วุฒิการศึกษา เป็นอาจารย์ประจำ หรืออาจารย์พิเศษ ฯลฯ และจัดทำรายงานทะเบียนอาจารย์
                 ♦ การจัดทำทะเบียนประวัตินักศึกษา
                         ♦ บันทึกทะเบียนประวัตินักศึกษา
                         ♦ จัดทำบัตรนักศึกษา ซึ่งเป็นแบบ Bar Code, แถบแม่เหล็ก หรือสมาร์ทการ์ด ฯลฯ
                 ♦ กำหนดหลักสูตรการศึกษา
                         ♦ กำหนดโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัย เช่น กำหนด ชื่อคณะ ชื่อปริญญา ชื่อสาขา ระดับปริญญา (ตรี, โท,  เอก)
                         ♦ กำหนดวิชาเรียนในแต่ละหลักสูตร เช่น แต่ละสาขาจะต้องเรียนวิชาบังคับวิชาใด ตามกำหนดก่อนหลัง และวิชาเลือกทั้งหมด กี่หน่วยกิต ฯลฯ
                 ♦ จัดทำตารางการสอนของอาจารย์ ในแต่ละภาคการศึกษา
                         กำหนดตารางการสอนของอาจารย์แต่ละท่าน ตามวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา และสามารถแบ่งตามกลุ่มย่อยได้
                 ♦ จัดทำทะเบียนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว
                 ♦ ออกหนังสือรับรอง และ Transcrip ให้แก่นักศึกษา
                          สามารถจัดทำได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

          2. งานของฝ่ายวัดผลการศึกษา
                 ♦ การลงทะเบียนนักศึกษา
                         ในการลงทะเบียนเรียน จะมีการตรวจสอบวิชาที่จะต้องเรียนตามลำดับก่อนหลัง เช่น วิชา CALCULUS 2 จะต้องสอบผ่านวิชา CALCULUS 1 มาก่อนจึงจะลงทะเบียนได้ เป็นต้น และสามารถสอบถามได้ว่า นักศึกษาแต่ละคนเรียนวิชาต่างๆ มาแล้วมากน้อยแค่ไหน เหลือวิชาบังคับอีกเท่าใด วิชาเลือกอีกเท่าใด จากนั้นจะพิมพ์รายชื่อนักศึกษาแยกตามกลุ่มที่ลงทะเบียน ประกาศให้นักศึกษาทราบ และให้อาจารย์ผู้สอนรับทราบต่อไป
                 ♦ จัดทำรายงาน รายชื่อนักศึกษา เพื่อแยกเข้าห้องสอบ
                          พิมพ์รายชื่อนักศึกษาแยกตามห้องสอบ ในการสอบ Midterm หรือการสอบ Final แต่ละครั้งโดยจัดกลุ่มนักศึกษาให้โดยอัตโนมัติ
                 ♦ รายงานผลสอบแต่ละครั้ง
                          โปรแกรมจะแจ้งผลสอบ ปิดประกาศให้นักศึกษาทราบแยกตามรายวิชา และจัดส่งทางไปรษณีย์แจ้งแก่ผู้ปกครองทราบ
                 ♦ ตรวจสอบการขอจบการศึกษาของนักศึกษา
                 ♦ พิมพ์รายงานทะเบียนบัณฑิต สำหรับนักศึกษาที่จบการศึกษาแล้ว เพื่อเตรียมรับปริญญา

          3. ฝ่ายการเงิน
                 ♦ ออกใบแจ้งการชำระเงินผ่านทางธนาคาร (Teller Payment) เมื่อนักศึกษาลงทะเบียน
                 ♦ ออกใบเสร็จรับเงินเมื่อมีการรับชำระเงินผ่านทางธนาคารหรือเงินสด
                 ♦ ออกใบเสร็จรับเงินจากกองทุนเงินกู้ (ในกรณีที่นักศึกษาทำเรื่องกู้เงินจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา)
                 ♦ ติดตามหนี้ค้างในกรณีที่นักศึกษาผ่อนชำระ
                 ♦ ออกใบเสร็จรับเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ
                 ♦ พิมพ์รายงานการรับเงินประจำวัน
                 ♦ บันทึกข้อมูลและพิมพ์รายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายประจำวัน นำเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติจ่ายเช็ค

          4. ฝ่ายบัญชี
                 
♦ บันทึกบัญชีประจำวัน จัดทำบัญชีแยกประเภทและงบการเงินต่างๆ เช่น งบทดลอง งบกำไร ขาดทุน และงบดุล เมื่อสิ้นงวด(เดือน, ปี) สามารถปิดงบการเงินได้ทุกวัน
                 ♦ สามารถแยกบัญชีออกเป็นงบการเงินจำแนกแต่ละกองทุนตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนด และงบรวมทุกกองทุนได้
                 ♦ ควบคุมเกี่ยวกับการ รับ-เบิก พัสดุ (บัญชีสินค้าคงคลัง)
                 ♦ จัดทำทะเบียนสินทรัพย์ และบัญชีค่าเสื่อมราคา

 

   ติดต่อรับคำปรึกษา
      
02-259-7745-6, 086-312-3065  
      
ID line : @hmithailand (มี @ นำหน้า)    

  

       เพิ่มเพื่อน