โปรแกรมต้นทุนการผลิต (Business Controller) สำหรับโรงงานผู้ผลิตสินค้าเป็น LOT เพื่อได้ ต้นทุนสินค้าต่อหน่วย งบต้นทุนการผลิต (MANUFACTURING COST), งบต้นทุนขาย (COST OF GOODS SOLD) เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับโรงงานผู้ผลิตสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่เกิดจากส่วนผสมหรือส่วนประกอบที่ใช้สูตรการผลิต (Bill of Material) โปรแกรมจะตัดสต็อกวัตถุดิบ (Raw Material) ให้ตามสัดส่วนของสูตรการผลิต และรับสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) ที่ผลิตได้เข้าคลังสินค้าให้โดยอัตโนมัติ การผลิตจะผลิตเป็น Lot (หรือหมายเลขใบสั่งผลิต) ในการเบิกวัตถุดิบระหว่างเดือนจะใช้ราคามาตรฐาน (Standard Cost) ในการคำนวณเพื่อให้ทราบต้นทุนโดยประมาณก่อน หลังปิดงวดสิ้นเดือนแล้วจึงจะนำราคาวัตถุดิบที่คิดแบบ Periodic มาคำนวณหาต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ทั้งหมดในเดือนนั้น แล้วจึงนำจำนวนสินค้าที่ผลิตได้ทั้งหมด (หรือจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด)ในเดือนนั้นมาหาร เพื่อให้ได้ต้นทุนวัตถุดิบต่อหน่วยของสินค้าที่ผลิตได้ นอกจากนั้นทางโปรแกรมยังได้กำหนดให้ใส่ต้นทุนค่าแรงทางตรงที่ใช้ในการผลิต และค่าใช้จ่ายทางอ้อม (Indirect Cost) ต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบริหารส่วนกลาง ฯลฯ มารวมในการคิดคำนวณต้นทุนสินค้าต่อหน่วยด้วย
1. ขั้นตอนการวางแผนการผลิต (Planning)
เมื่อผู้จัดการโรงงานต้องการผลิตสินค้า เขาสามารถเรียกดูสต็อกวัตถุดิบว่ามีเพียงพอที่จะผลิตหรือไม่ โดยโปรแกรมจะคำนวณตามสูตรการผลิต(Bill of Material) ที่ได้กำหนดไว้แล้ว ในกรณีที่วัตถุดิบมีเพียงพอ ผู้จัดการสามารถจองวัตถุดิบไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะเริ่มทำการผลิตสินค้านั้นได้ เมื่อมีใครเรียกดูสต็อกคงเหลือ ณ.ปัจจุบันของวัตถุดิบ ก็จะเห็นว่ามียอดคงเหลือที่จะใช้ได้จริงอีกเท่าใด และถูกจองไปแล้วเท่าใด ในขั้นตอนนี้โปรแกรมจะพิมพ์ใบสั่งผลิต(Producing Indication) ซึ่งจะมีรายละเอียดของจำนวนวัตถุดิบที่จะต้องใช้ทั้งหมดในการผลิตครั้งนี้ และข้อมูลต่างๆ ที่จะต้องแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ
2. ขั้นตอนการผลิต (Actual Production)
เมื่อพนักงานผู้ปฏิบัติงานเริ่มผลิตสินค้าตามใบสั่งผลิต เขาก็จะเบิกวัตถุดิบตามที่ใบสั่งผลิตแจ้งมา แต่มีบางกรณีที่การเบิกใช้วัตถุดิบไม่เป็นไปตามใบสั่งผลิต หลังจากผลิตสินค้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาจะบันทึกข้อมูลในใบสั่งผลิตว่าได้ใช้วัตถุดิบไปจริงเป็นจำนวนเท่าใด และใช้ Man Hour (จำนวนคน และจำนวนชั่วโมง) ไปเท่าใดในการผลิตตามใบสั่งผลิตนี้ เพื่อใช้เป็นการคำนวณค่าวัตถุดิบทางตรง(Direct Material) และค่าแรงทางตรง(Direct Labour) ในขั้นตอนการผลิตจริง เมื่อมีการระบุจำนวนวัตถุดิบที่เบิกไปใช้จริง และสินค้าที่ผลิตได้เป็นจำนวนเท่าใด โปรแกรมก็จะทำการตัดสต็อกวัตถุดิบและเพิ่มสต็อกของสินค้า (Finished Goods) ให้โดยอัตโนมัติ
ในขั้นตอนนี้ User สามารถพิมพ์รายงานต้นทุนการผลิต (Production Cost) เพื่อให้ผู้บริหารดูต้นทุนการผลิตแต่ละใบสั่งผลิต(หรือแต่ละ Lot) ได้ทันที โดยโปรแกรมจะนำค่าใช้จ่ายทางตรง(Direct Cost) ซึ่งเป็นค่าวัตถุดิบและค่าแรงที่ใช้จริงรวมกับค่าประมาณการของค่าใช้จ่ายทางอ้อม(Estimated Indirect Cost ) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของเดือนก่อนหน้านี้ (หลังจากฝ่ายบัญชีปิดบัญชีตอนสิ้นเดือนแล้ว จะมีการคำนวณ Production Cost ให้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อตัวเลขจะได้ตรงกับฝ่ายบัญชี)
3. บันทึกข้อมูลค่าใช้จ่ายทางอ้อม (Indirect Cost)
เป็นการนำข้อมูลค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตเพื่อมาใช้ในการคำนวณ Man Hour และค่าใช้จ่ายทางอ้อมอื่นๆ ในการผลิตสินค้าแต่ละใบสั่งผลิต(หรือแต่ละ Lot)
4. จัดทำงบต้นทุนการผลิตประจำเดือน
หลังจากได้บันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานในแต่ละวัน และค่าใช้จ่ายทางอ้อมตอนสิ้นเดือนแล้ว โปรแกรมสามารถออกรายงานเกี่ยวกับการบริหารต้นทุนต่างๆ ได้แก่
♦ บัญชีต้นทุนการผลิตของสินค้าแต่ละชนิด (Cost Account)
♦ ต้นทุนการผลิตของทั้งโรงงาน (Manufacturing Cost)
♦ ต้นทุนของสินค้าที่ได้ขายไป (Cost of Goods Sold) (ในกรณีที่ทราบข้อมูลการขาย)
5. ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control)
โปรแกรมระบบดังกล่าวนี้ จะรวมถึงโปรแกรม “ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง” ไว้ด้วย ซึ่งสามารถใช้ควบคุมสต็อกของทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป และมีความสัมพันธ์ในการคำนวณราคาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วย
6. อื่นๆ
สามารถต่อยอดความสามารถของโปรแกรมให้เป็นระบบ ERP (Enterprise Resources Planning) อย่างสมบูรณ์ต่อไปในอนาคตได้ (โดยการติดตั้งโปรแกรมระบบอื่นของ Business Controller เพิ่ม)
รายงานต่างๆ ที่จะได้รับ
♦ พิมพ์ใบสั่งผลิต (ก่อนผลิต) เพื่อเตรียมวัตถุดิบ (Producing Indication)
♦ พิมพ์ใบสั่งผลิต (หลังผลิตจริงแล้ว) เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานให้แก่ฝ่ายบัญชี
♦ รายงานบัญชีต้นทุน (Cost Account)
♦ รายงานการรับวัตถุดิบหรือสินค้าประจำวัน/เดือน แยกตามสินค้า
♦ รายงานการรับวัตถุดิบหรือสินค้าประจำวัน/เดือน แยกตามผู้รับสินค้า/ผู้ขาย (กรณีใช้ร่วมกับโปรแกรม A/P)
♦ รายงานการเบิกวัตถุดิบหรือสินค้าประจำวัน/เดือน แยกตามสินค้า
♦ รายงานการเบิกวัตถุดิบหรือสินค้าประจำวัน/เดือน แยกตามผู้เบิก/ลูกค้า (กรณีใช้ร่วมกับโปรแกรม A/R)
♦ รายงาน “MANUFACTURING COST & COST OF GOODS SOLD”
สนใจดูการแนะนำการใช้งานโปรแกรม คลิ้ก https://youtu.be/LWuVpR7hDzE
ติดต่อรับคำปรึกษา
02-259-7745-6, 086-312-3065
ID line : @hmithailand (มี @ นำหน้า)


ตัวอย่างรายงาน