โปรแกรม ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ไม่ได้เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทั่ว ๆ ไปเนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่(Enterprise Business) ไม่ใช่ SME ทั่วๆไป จึงมีความสลับซับซ้อนแปรไปตามลักษณะเฉพาะของประเภทสินค้าที่ผลิต อย่างไรก็ตามภาพรวมของวิธีและขั้นตอนการปฏิบัติงานมักจะใกล้เคียงกัน ทางบริษัท HMI มีประสบการณ์มากพอที่จะให้คำแนะนำ แก่ลูกค้าตั้งแต่งานระดับปฏิบัติงานประจำวัน(Front Office)เบื้องต้น ไปจนกระทั่งปิดบัญชีรายเดือนและรายปี (Back Office) ลูกค้าที่ใช้บริการของเราจะได้รับผลงานที่เทียบเท่า กับองค์กรระดับใหญ่ แต่เสียค่าใช้จ่ายในราคาที่รับได้อย่างสบายๆ(อาจจะประหยัดกว่าผู้ค้าบางรายถึง 10 เท่า) ทำให้ผลกำไรของธุรกิจมีมากขึ้น ข้อสำคัญที่สุดคือ ลดความเสี่ยงจากความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น เพราะผู้ติดตั้งระบบเองขาดประสบการณ์ เนื่องจากทางบริษัท HMI ได้มีประสบการณ์ด้านนี้เป็นเวลานาน และโปรแกรมที่ติดตั้งให้แก่ลูกค้าเป็นโปรแกรมที่ได้พัฒนาไว้แล้วเป็นส่วนใหญ่
เนื้อหาโดยรวมของโปรแกรม ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตจะครอบคลุมหน่วยงานและกิจกรรมภายในหน่วยงาน ดังนี้
1.ฝ่ายขาย
- เสนอราคาแก่ลูกค้า (Quotation)
- รับ Order จากลูกค้า (Customer Confirmation) และมีการอนุมัติขาย
- ตรวจสอบคลังสินค้าสำเร็จรูปว่ามีสินค้าพอส่งให้ลูกค้าหรือไม่
- แจ้งฝ่ายผลิตถึงจำนวนสินค้าที่จะต้องผลิตให้ลูกค้า (Sale Note)
- เปิดบิลขายสำหรับสินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมส่งให้ลูกค้า แจ้งฝ่ายจัดส่ง และฝ่ายการเงิน
2.ฝ่ายจัดส่งสินค้า
- เบิกสินค้าจากคลังสินค้าตามบิลที่เปิด
- นำสินค้าเตรียมส่งให้แก่ลูกค้า ตามบิลที่ฝ่ายขายเปิด
- นำสินค้าส่งให้ลูกค้า
- ยืนยันการส่งสินค้าถึงมือลูกค้าเรียบร้อย
3.ฝ่ายผลิต
- วางแผนการผลิตเช่น BOM
- ตรวจสอบวัตถุดิบพอหรือไม่
- ทำใบขอซื้อวัตถุดิบ (PR) แจ้งไปยังฝ่ายจัดซื้อ
- ออกใบสั่งผลิต
- ผลิตตามขั้นตอนต่างๆ จนได้สินค้าสำเร็จรูป และส่งเข้าสินค้าสำเร็จรูป
4.ฝ่ายจัดซื้อ
- รับใบขอซื้อจากฝ่ายผลิต เพื่อเตรียมจัดซื้อวัตถุดิบ
- ออกใบ PO สั่งซื้อวัตถุดิบ (โดยมีการตรวจสอบราคาของผู้ค้า (Vendor) ต่างๆ และติดตามการส่งสินค้าจากผู้ค้า)
- รับสินค้า(วัตถุดิบ) ตรวจสอบคุณภาพและความครบถ้วน และนำส่งเข้าคลังวัตถุดิบ
- ส่งข้อมูลการรับสินค้า ให้ฝ่ายการเงิน เพื่อทำจ่ายให้แก่ผู้ค้า
5.ฝ่ายคลังสินค้า
- รับวัตถุดิบที่ฝ่ายจัดซื้อรับมา เข้าคลังสินค้าวัตถุดิบ
- เบิกวัตถุดิบให้แก่ฝ่ายผลิต
- รับสินค้าสำเร็จรูปจากฝ่ายผลิตที่ผลิตได้
- เบิกสินค้าสำเร็จรูป ให้แก่ฝ่ายขาย เพื่อนำส่งให้ลูกค้า
- คำนวณต้นทุนสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตได้ประจำเดือน
- คำนวณต้นทุนของสินค้าที่ขายประจำเดือน
6.ฝ่ายการเงิน
- ติดตามการรับชำระหนี้ตามบิลที่ฝ่ายขายเปิด หรือจัดทำใบวางบิล กรณีที่มีการชำระตามช่วงวันที่
- ชำระเงินค่าวัตถุดิบตามใบสั่งซื้อของฝ่ายจัดซื้อ และการรับสินค้าจากฝ่ายคลังสินค้าและขออนุมัติจ่ายจากผู้มีอำนาจ
- นำเงินฝากเข้าธนาคาร และเบิกออกจากธนาคารและตรวจสอบรายการรับ-เบิก กับ Statement ของธนาคาร
- ควบคุมเงินสดย่อย
7.ฝ่ายบัญชี
- บันทึกบัญชีในสมุดรายวัน ตามเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อรายงานการเงินระหว่างเดือน หรือตอนสิ้นปี
- โดยการรับข้อมูลการบันทึกบัญชีอัตโนมัติ จากโปรแกรม A/P และ A/R ที่บันทึกตามกิจกรรมของฝ่ายการเงินได้แก่การซื้อ ขาย จ่าย รับ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากนั้น
- ทางฝ่ายบัญชีจะต้องบันทึกบัญชีเพิ่มเข้าไปเอง และออกรายงานงบการเงินประจำเดือนและประจำปี เช่นงบต้นทุนการผลิต งบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงิน เป็นต้น
ติดต่อรับคำปรึกษา
02-259-7745-6, 086-312-3065
ID line : @hmithailand (มี @ นำหน้า)

